โครงสร้างอะตอม
ดีโมครีตัส
( นักปราชญ์ชาวกรีก) ได้กล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างประกอบขึ้นจาก อนุภาคที่เล็กมาก
เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคเล็กๆ
เหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธิการต่างๆสำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีก
ได้ ดีโมครี- ตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า" อะตอม (Atom)"
แบบจำลองอะตอมของจอห์นดอลตันจอห์น
ดอลตัน
นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอทฤษฎีอะตอมโดยอาศัยข้อมูลจากการทดลองที่พอจะศึกษาได้และนับว่าเป็นทฤษฎีแรกที่เกี่ยวกับอะตอมที่พอจะเชื่อถือได้
ซึ่งมีใจความดังนี้
-สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า
“ อะตอม”
-อะตอมจะไม่สามารถแบ่งแยกได้
และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้
-อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ
-อะตอมของธาตุต่างกันจะมีสมบัติต่างกัน
-
สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่า 1 ชนิด
ทำปฏิกิริยากันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวอย่างง่าย
นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอมเพิ่มขึ้นพบว่าข้อมูลบางประการไม่สอดคล้องกับดาลตัน
เช่น อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน อาจมีมวล แตกต่างกันได้ และอะตอมสามารถแบ่งแยกได้
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเพิ่มเติม และจึงได้พัฒนาแบบจำลองอะตอมขึ้นมาใหม่
แบบจำลองอะตอมของทอมสัน
อะตอม
ประกอบด้วย อนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ
อะตอมในสภาพที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีจำนวนประจุบวกเท่ากับประจุลบ
เซอร์โจเซฟ
จอห์น ทอมสัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
ได้ทำการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับการนำไฟฟ้าของก๊าซโดยใช้หลอดรังสีแคโทด
ได้ผลสรุปด้งนี้
ค่าอัตราส่วนประจุต่อมวลของอนุภาคลบหรืออิเล็กตรอน
(e ) มีค่าเท่ากับ คูลอมบ์ต่อกรัม
ซึ่งมีค่าคงที่เสมอไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซและโลหะที่ใช้ทำแคโทด
สรุปแบบจำลองอะตอมของทอมสัน
อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลุม
มีอนุภาคที่มีประจุบวก เรียกว่า โปรตอน อนุภาคที่มีประจุลบ เรียกว่า อิเล็กตรอน
และจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนกระจายอยู่ทั่วไปในทรงกลม
การทดลองที่สนับสนุนแบบจำลองอะตอมของทอมสัน
สโตนีย์ ได้ศึกษาผลงานของฟาราเดย์
และเป็นผู้สรุปว่า ไฟฟ้าประกอบด้วยอนุภาคทางไฟฟ้าและตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า
อิเล็กตรอน ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กในอะตอมของธาตุ
ฟาราเดย์
ได้ศึกษาเกี่ยวกับการแยกสารละลายด้วยกระแสไฟฟ้าและได้ตั้งกฏการแยกสารด้วยไฟฟ้า
รอเบิร์ต
แอนดูรส์ มิลลิแกน ได้ทำการทดลองต่อจากทอมสัน
เพื่อหาประจุที่มีอยู่ในอิเล็กตรอนแต่ละตัว เรียกการทดลองนั้นว่า
แต่ละตัว มีประจุเท่ากับ คูลอมบ์
แต่ละตัว มีมวลเท่ากับ คูลอมบ์
ออยแกน โกลด์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
ได้ทำการทดลองโดยใช้หลอดรังสีแคโทด พบว่า อนุภาคบวก
มีค่าอัตราส่วนประจุต่อมวลไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซ
และอนุภาคบวกที่เกิดจากไฮโดรเจน เรียกว่า โปรตอน์
แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
อะตอมจะประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนและนิวตรอนรวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ตรงกลางนิว เคลียสมีขนาดเล็กมากมีมวลมากและมีประจุบวกส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุเป็นลบและมีมวลน้อยมากจะวิ่งรอบนิวเคลียสเป็นวงกว้าง
การค้นพบนิวตรอน เนื่องจากมวลของอะตอมส่วนใหญ่อยู่ที่นิวเคลียส ซึ่งเป็นมวลของโปรตอนแต่โปรตอนมีมวลประมาณครึ่งหนึ่งของนิวเคลียสเท่านั้นแสดงว่าต้องมีอนุภาคซึ่งไม่มีประจุไฟฟ้าแต่มีมวลใกล้เคียงกับโปรตอนอยู่ในอะตอมด้วยเจมส์
แชวิก นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
จึงศึกษาทดลองเพิ่มเติมจนพบนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า อะตอมของธาตุทุกชนิดในโลกจะมีนิวตรอนเสมอ
ยกเว้นอะตอมของไฮโดรเจนในรูปของไอโซโทป
สรุปแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมกัน อยู่ตรงกลางนิวเคลียสมีขนาดเล็ก แต่มีมวลมากและมีประจุเป็นบวก
ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุเป็นลบและมีมวลน้อยมาก จะวิ่งอยู่รอบนิวเคลียสเป็นบริเวณกว้าง
จากทฤษฎีอะตอมของ
รัทเทอร์ฟอร์ด แบบจำลองอะตอมมีลักษณะดังรูป
แบบจำลองอะตอมของนีลส์โบร์
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาลักษณะของการจัดอิเล็กตรอนรอบๆ
อะตอม
โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษษเกี่ยวกับสเปกตรัมของอะตอม
ซึ่งทำให้ทราบว่าภายในอะตอมมีการจัดระดับพลังงานเป็นชั้นๆ
ในแต่ละชั้นจะมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่
ส่วนที่สองเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานไอโอไนเซชัน
เพื่อดูว่าในแต่ละระดับพลังงานจะมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ได้กี่ตัว
นีลส์โบร์
ได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมา สรุปได้ดังนี้
1.อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆ
ตามระดับพลังงาน
และแต่ละชั้นจะมีพลังงานเป็นค่าเฉพาะตัว
2.อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกว่าระดับพลังงานต่ำสุดยิ่งอยู่ห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น
ระดับพลังงานจะยิ่งสูงขึ้น
3.อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกระดับพลังงาน
n = 1
ระดับพลังงานถัด
ไปเรียกระดับพลังงาน n =2, n = 3,... ตามลำดับหรือเรียกเป็นชั้น K , L , M , N ,O , P , Q ....
จากทฤษฎีอะตอมของ
นีลส์โบร์ แบบจำลองอะตอมมีลักษณะดังรูป
แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก
อะตอมจะประกอบด้วย
กลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียส โดยมีทิศทางไม่แน่นอน
โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนบริเวณใกล้นิวเคลียสมีมากกว่าบริเวณที่อยู่ห่างจากนิวเคลียส
เนื่องจากแบบจำลองอะตอมของโบร์ใช้อธิบายได้ดีเฉพาะธาตุไฮโรเจนซึ่งมีอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว ดังนั้นถ้าธาตุมีหลายอิเล็กตรอน ทฤษฏีของโบร์ไม่สามารถอธิบายได้ นักวิทยาศาสตร์จึงค้นคว้า ทดลองจนเกิดเป็นแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก ซึ่งมีลักษณะดังนี้
- อิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสด้วยความเร็วสูง
วงโคจรไม่จำเป็นต้องเป็นวงกลมเสมอ
- ไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนได้
- บริเวณกลุ่มหมอกหนาทึบ
แสดงว่ามีโอกาสพบอิเล็กตรอนบริเวณนั้นมาก และบริเวณที่กลุ่มหมอกจาง
แสดงว่ามีโอกาสพบอิเล็กตรอนน้อย
สรุปแบบจำลองอะตอม
อนุภาคมูลฐานของอะตอม
ชนิดของอนุภาคมูลฐานของอะตอม
ทุกอะตอมประกอบด้วยอนุภาคที่สำคัญคือ
โปรตอน, นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยมีโปรตอนกับนิวตรอนอยู่ภายในนิวเคลียส
นิวเคลียสนี้จะครอบครองเนื้อที่ ภายในอะตอมเพียงเล็กน้อย และมีอิเล็กตรอนวิ่งรอบๆ นิวเคลียสด้วยความเร็วสูง คล้ายกับมีกลุ่มประจุลบปกคลุมอยู่โดยรอบ
อนุภาค
|
ประจุ ( หน่วย)
|
ประจุ (C)
|
มวล (g)
|
มวล (amu)
|
อิเล็กตรอน
|
-1
|
1.6
x 10 -19
|
0.000549
|
9.1096
x 10 -28
|
โปรตอน
|
+1
|
1.6
x 10 -19
|
1.007277
|
1.6726
x 10 -24
|
นิวตรอน
|
0
|
0
|
1.008665
|
1.6749
x 10 -24
|
' อิเล็กตรอน (Electron) สัญลักษณ์ e - มีแระจุลบ และมีมวลน้อยมาก
' โปรตอน สัญลักษณ์ p + มีประจุเป็นบวก และมีมวลมากกว่า
อิเล็กตรอน ( เกือบ 2,000 เท่า)
' นิวตรอน สัญลักษณ์ n มีประจุเป็นศูนย์ และมีมวลมากพอๆ
กับโปรตอน
เลขอะตอม
เลขมวล และสัญลักษณ์นิวเคลียร์
1. จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเรียกว่า เลขอะตอม (atomic number, Z)
2.
ผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนเรียกว่า เลขมวล (mass number, A)
A =
Z + N โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน
(
เลขเชิงมวลจะเป็นจำนวนเต็มและมีค่าใกล้เคียงกับมวลของอะตอม)
การเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์
เขียน
(A) ไว้ข้างบนด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ
เขียน
(Z) ไว้ข้างล่างด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ
X = สัญลักษณ์ของธาตุ
ไอโซโทป( Isotope )หมายถึงอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน
มีเลขอะตอมเท่ากันแต่มีเลขมวลต่างกัน
ไอโซบาร์( Isobar )หมายถึงอะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากันแต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน
ไอโซโทน ( Isotone ) หมายถึง
อะตอมของธาตุต่างชนิดกันแต่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน
หลักในการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
1.
อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน
ระดับพลังงาน
ที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด( ชั้น K) จะมีพลังงานต่ำที่สุด
และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมา
จะมีพลังงานสูงขึ้นๆตามลำดับ พลังงานของอิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน
K
< L < M < N < O < P < Q หรือชั้นที่ 1< 2
< 3 < 4 < 5
< 6 < 7
2.
ในแต่ละชั้นของระดับพลังงาน จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ม่เกิน 2n 2 เมื่อ n = เลขชั้นซึ่งเลขชั้นของชั้น K=1,L=2,M=3,N=4,O=5,P=6 และ Q=7
ตัวอย่าง
จำนวน e - ในระดับพลังงานชั้น K มีได้ ไม่เกิน 2n 2 = 2 x 1 2 = 2x1 =
2
จำนวน
e - ในระดับพลังงานชั้น N มีได้ ไม่เกิน 2n 2 = 2 x 4 2 = 2x16 =
32
ระดับพลังงาน
จำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้มากที่สุด
n = 1 (K) 2(1) 2 = 2
n = 2 (L) 2(2) 2 = 8
n = 3 (M) 2(3) 2 = 18
n = 4 (N) 2(4) 2 = 32
n = 5 (O) 2(5) 2 = 32 ( 32
คือ เลขมากสุดที่เป็นไปได้ )
n = 6 (P) 2(6) 2 = 32
n = 7 (Q) 2(7) 2 = 32
จะเห็นว่ากฎออกเตตมีข้อด้อย
คือ เมื่อระดับพลังงานมากกว่า n = 4
จะใช้ไม่ได้
อย่างไรก็ตามในธาตุ 20 ธาตุแรก สามารถใช้การจัดเรียงอิเล็กตรอนตามกฎออกเตตได้ดี
3.
ในแต่ละระดับชั้นพลังงาน จะมีระดับพลังงานชั้นย่อยได้ ไม่เกิน 4 ชั้นย่อย
และมีชื่อเรียกชั้นย่อย
ดังนี้ s ,
p , d , f
วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
การจัดเรียงอิเล็กตรอน
ให้จัดเรียง e- ในระดับพลังงานชั้นย่อยโดยจัดเรียงลำดับตามลูกศร
( แนวทางการจัดเรียงอิเล็กตรอน ให้เขียนแผนผังก่อน ดังรูป)
จัดเรียงอิเล็กตรอนตามลูกศร
ดังรูป